ถอดรหัสธุรกิจ จริงๆแล้ว ธุรกิจ แอพสั่งอาหารกำไร หรือขาดทุนกันแน่

ในช่วงหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมานั้น บริการสั่งอาหารผ่านแอพ ขี้นมาเป็นธุรกิจดาวรุ่งในยุค Lazy Economy ตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบายในชีวิต ยิ่งในภาวะโควิดแบบนี้นั้น ทำให้ยอดการเติบโตยิ่งสูงขึ้น แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นท่ามกลางการเติบโตของธุรกิจยังไม่มีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มรายใดที่สามารถทำกำไรจากการให้บริการได้ พูดง่ายๆ ยิ่งส่งเยอะยิ่งขาดทุน

ดังนั้นจึงมีคำถามว่าขาดทุนแล้วทำไมถึงยังคงให้บริการ ธุรกิจบริการแพลตฟอร์มส่งอาหารผ่านแอพ เริ่มต้นในไทย สองถึงสามปีที่ผ่านมา มีโมเดลการทำธรุกิจแบบสตาร์ทอัพ ที่ลงทุนเพื่อดิสรัป หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจดังเดิม

ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มส่วนใหญ่เป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นระดับภูมิภาคทั้ง แกร๊บ เก็ท และฟู๊ดแพนด้า มีเม็ดเงินจากการระดมทุนมาใช้ในการขยายธุรกิจ ลงทุนสร้างฐานผู้ใช้ขึ้นมา ลงทุนเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งาน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งการลงทุนของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มทำให้ธุรกิจนี้มีการแข่งขันสูง ทั้งโปรโมชั่น

การดึงพาร์ทเนอร์ ทั้งร้านอาหาร และคนขับเข้าอยู่ในแพลตฟอร์ม โดยที่มีการแข่งขันกันอย่างจริงจังขณะนี้ ประกอบด้วยยักษ์ใหญ่สี่เจ้า อย่าง แกร๊บฟู๊ด เก็ท ฟู้ดแพนด้า และไลน์แมน โดยหัวใจของธุรกิจแพลตฟอร์มฟู๊ดดิลิเวอรี่ผ่านแอพ คือการสร้างอีโคซิสเต็มส์ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจคนเรามีอยู่สี่ห้อง ห้องแรกคือลูกค้า ห้องที่สองคือพาร์ทเนอร์คนขับ ห้องสามคือ ร้านค้า และห้องสี่คือแพลตฟอร์ม

ซึ่งทางผู้สร้างแพลตฟอร์มจะเป็นผู้ดำเนินการเพื่อสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในอีโคซิสเต็มส์ และการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งถึงแม้ว่าธุรกิจที่จะยังขาดทุนอยู่ แต่ทางผู้ประกอบการเองก็มีความเชื่อมั่นว่าในอนาคตจะมีแนวโน้มที่สดใส โดยการที่มีภาวะไข้ไวรัสโควิดนี้ทำให้เกิดผุ้ใช้บริการหน้าใหม่อยู่ทุกๆวัน ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว อีกทั้งธุรกิจแพลตฟอร์มการสั่งอาหารผ่านแอพจะกลายเป็น New Normal ที่คนไทยคุ้นชินกับบริการหลังจากโควิด

ซึ่งทั้งนี้ได้รับการยืนยันจากทางศูนย์วิจัยของธนาคารกสิกรไทยอีกด้วยว่า ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในกลุ่ม On-Demand ที่ได้รับความนิยมในปี 2563 นั้น จะมีมูลค่าสุทธิที่ 1.42 แสนล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 32.5

จากสถานการณ์ปรกติ ซึ่งหลังจากนี้คงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 ว่าจะคลี่คลายเมื่อไร ไม่ว่าจะอย่างไรก็ดี ตลาดของธุรกิจจัดส่งอาหาร ปี2563 นั้น คงจะอยู่ที่ 4.1 หมื่นล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับสถานการณ์ปรกติ ทั้งนี้หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดคลี่คลาย คาดว่า Food delivery จะกลายมาเป็นบรรทัดฐานใหม่ของธุรกิจอาหาร และอาจเป็นช่องทางหลักในการสร้างรายได้ของผู้ประกอบการในอนาคต      

 

ได้รับการสนับสนุนโดย  bk8 ฝาก ขั้น ต่ํา